วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

การติดตั้ง PyTorch บน Raspberry Pi 3 Model B+

Pytorch  ถือว่าเป็น  scientific computing package ที่ว่าไปก็เหมือนกับ Numpy เพียงแต่ว่าเพิ่มความสามารถในการใช้งานกับ GPU และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการนำมาสร้าง Machine Learning Framework ส่วนตัวแล้วหันมาใช้เพราะ syntax เหมือนกับ Numpy เลยรู้สึกว่าคุ้นมือกว่าการใช้ตัวที่ดังกว่าอย่าง TensorFlow ก็เลยหาเรื่องเอามาติดตั้งบน Raspberry Pi

อุปกรณ์และซอฟต์แวร์
1. Raspberry Pi ที่ใช้คือ Raspberry Pi 3 Model B+
2. Operating system คือ Raspbian Stretch released 2019-04-09
3. Python3.x

ติดตั้ง OpenCV
เนื่องจากต้องการทำงานกับรูปภาพและวิดีโอ จึงต้องการติดตั้ง OpenCV ด้วย (Raspbian มี pygame มาด้วยแล้ว แต่ต้องเข้าใจวิธีการแปลงข้อมูลจาก pygame ไปสู่การทำงานรูปแบบที่ต้องการด้วย) ใน pypi มี package ชื่อ opencv-python, opencv-contrib-python ซึ่งเป็น opencv version 3.x ไม่ใช่ version 4.x เลือกอันใดอันหนึ่งก็ได้ ไม่ต้องติดตั้งทั้งคู่ ส่วนตัวเลือก opencv-contrib-python ครับ
ก่อนการติดตั้ง opencv ต้องติดตั้ง dependencies ก่อน

$ sudo apt-get install libhdf5-dev libhdf5-serial-dev libhdf5-100 \
libqtgui4 libqtwebkit4 libqt4-test python3-pyqt5 \
libatlas-base-dev libjasper-dev python3-dev


จากนี้ก็ติดตั้งตัว opencv

$ python3 -m pip install opencv-contrib-python


หลังการติดตั้งแล้ว ควรจะมี directory ชื่อ  cv2 ใน ~/.local/lib/python3.5/site-packages หากไม่มี ทบทวนขั้นตอนแล้วทำซ้ำ

ติดตั้ง Pytorch
ติดตั้ง dependencies


$ sudo apt-get install libopenblas-dev cython3 libatlas-dev m4 libblas-dev cmake ninja-build
$ python3 -m pip install pyyaml 


ปรับแต่ง swap file
หยุดการทำงานชั่วคราว

$ sudo /etc/init.d/dphys-swapfile stop


เพิ่มค่า swap file

$ sudo nano /etc/dphys-swapfile 


เปลี่ยนค่า CONF_SWAPFILE จาก 100 ไปเป็น 2048 กด Ctrl-X เพื่อบันทึก แล้ว restart

$ sudo /etc/init.d/dphys-swapfile start


ดาวน์โหลด source

$ git clone --recursive https://github.com/pytorch/pytorch
$ cd pytorch

$ git submodule sync
$ git submodule update --init --recursive


เริ่มการติดตั้ง

$ sudo -E python3 setup.py install


ขั้นตอนนี้ในสภาพแวดล้อมของผมใช้เวลานานกว่า 12 ชั่วโมง และได้พบ error message ในขั้นตอนเกือบสุดท้าย แต่ไม่ใช่ปัญหา เรายังคงสามารถใช้งาน pytorch ได้

ตรวจสอบผลการติดตั้งโดยการดูที่ /usr/local/lib/python3.5/dist-packages ควรจะพบ directory ชื่อ torch อยู่ ถ้าพบก็ให้ทำการ reboot หากไม่พบก็ทำงานทบทวนขั้นตอนแล้วทำใหม่

ในกรณีผ่านการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก็ทดสอบ หากได้ผลดังภาพข่างล่าง ก็เสร็จเรา



หมายเหตุ 
1. ใน pypi มี package ชื่อ torch-raspi และ torchvision-raspi อยู่แล้ว ดังนั้น หากท่านไม่ต้องการติดตั้งอะไรเองเยอะแยะ ก็สามารถเลือกใช้การติดตั้งแบบใช้ pip ได้ แต่ส่วนตัวแล้วไม่ทราบว่า จะได้ pytorch รุ่นไหนมาใช้ ก็เลยเลือกที่จะติดตั้งเองมากกว่า








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น