เรียนรู้การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษา Python ตอนที่ 1

การเรียนรู้ที่จะสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยการสร้างโปรแกรมเองให้ได้ผลจริง ผมคิดว่ามีทางเลือกเดียวครับคือ "การอ่าน" และ "การเขียน" โค๊ด (code หรือ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ) และในบทความชุดนี้ผมเลือกที่จะใช้ภาษา Python เป็นแบบฝึกครับ เนื่องด้วยจะได้สอดคล้องกับการใช้งาน Raspberry Pi ไปด้วยในตัวเลย (ความจริงแล้วการเขียนโปรแกรมภาษา Python บน Raspberry Pi ก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์อื่น แต่อาจจะมีเรื่องเพิ่มเติมเข้ามาเช่น การติดต่อกับอุปกรณ์อื่นด้วย GPIO เป็นต้น)


เริ่มต้นด้วย "Hello World"

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เรามักจะเริ่มสอนด้วยการให้ผู้เรียน พิมพ์คำสั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อความ "Hello World" บนหน้าจอ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นประเพณีไปแล้วก็ได้ และเราก็จะทำตามนั้นอีกครั้ง  

คำสั่ง : พิมพ์ข้อความ  print "Hello World"  หรือ print("Hello World") ลงในกรอบข้อความข้างล่างนี้ หากมีข้อความอื่นปรากฏอยู่ก็ให้ลบทิ้งให้หมด (ไม่ต้องกลัวเครื่องพัง) หลังจากพิมพ์เสร็จแล้วให้คลิ๊กที่ปุ่ม "Run" แล้วสังเกตุผล

  คำสั่งแรกของ Python ที่ได้เรียนรู้กันไปแล้วคือ "print"  หน้าที่ของคำสั่งนี้ก็ตามความหมายของคำเลยครับ ที่นี้ลองเปลี่ยนมาใช้กับผลแบบอื่นกันบ้าง เช่น

  • print 1+2+3
  • print 4*12 
  • print 5 - 4
  • print "1+2+3"
  • print "4*12"
  • print "5-4"
  • print "H"+"e"+"l"+"l"+"o"
  • print "1"+2
เล่าเรื่องคำสั่ง print อีกนิด Python ในปัจจุบันมีสองกลุ่ม (น่าจะเรียกแบบนี้ได้) คือ กลุ่มที่ใช้ Python รุ่น 2.7 (บางทีก็เรียกว่า 2.x) กับกลุ่มที่ใช้ Python 3.x  ซึ่งก็มีส่วนที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในอนาคตคาดกันว่าน่าจะเหลือแต่ Python 3.x เพราะดูแล้วน่าจะทันสมัยกว่า แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว กลับมาการพัฒนาต่อยอดในกลุ่มที่ใช้ Python 2.X ตลอดเวลา ก็เลยทำให้ Python ยังคงต้องสนับสนุนทั้
สองกลุ่มต่อไปแบบไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลง อีกทั้งใน Raspbian เองก็ default ให้ใช้ python 2.X อยู่ ที่นี้เกี่ยวกับ print ยังไง มันเกี่ยวตรงที่ print ใน Python 2.X ไม่ต้องการวงเล็บ () ในขณะที่ Python 3.X ต้องใช้วงเล็บ และ default เป็น uincode เลย เช่น

print "Hello World" ใช้กับ Python 2.X
print ("Hello World") ใช้กับ Python 3.X

ก็เป็นว่าเอาเท่านี้ก่อนนะ



[คณิตศาสตร์เบื้องต้น >]
Previous
Next Post »